หนอนใยและการป้องกันกำจัด

หนอนใยผัก เป็นศัตรูพืชที่เป็นตัวอ่อนในระยะดักแด้ของผีเสื้อ พบระบาด และทำความเสียหายอย่างรุนแรงกับพืชชนิดผักตระกูลกะหล่ำ (Cruciferae) โดยชอบแทะกินผิวใบด้านล่าง และปล่อยเหลือผิวใบด้านบนไว้เป็นเยื่อโปร่งแสงเป็นวงกว้าง หากมีการระบาดมากจะกัดกินจนเหลือแต่ก้านใบหรือใบแหว่งเหี่ยวตายได้ง่าย หากมีสิ่งรบกวนจากภายนอกหนอนใยผักจะดิ้น และสร้างใยทิ้งตัวห้อยลงบนพื้น

 

ชื่อสามัญ Diamondback moth
ชื่อวิทยาศาสตร์ Plutella xylostella Linnaeus.
อันดับ Lepidoptera
วงศ์ Plutellidae

ลักษณะหนอนใยผัก

• ตัวเต็มวัย
ระยะตัวเต็มวัยของหนอนใยผักจะเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก อาศัยอยู่ตามใบพืชต่างๆ โดยเฉพาะพืชผัก ลำตัวมีสีเทาอ่อน ปีกจะแนบติดลำตัวเวลาเกาะจับ ปีกคู่หน้ามีแถบสีเหลืองขาวในแนวยาวของลำตัว ด้านข้างลำตัวมองเห็นเป็นรูปสามเหลี่ยม 3 อัน โดยทั่วไปเพศผู้จะมีสีเข้มกว่าเพศเมีย โดยเฉพาะบริเวณปีกคู่หลังที่มีแถบสีเหลืองอยู่บริเวณขอบปีก ลักษณะสภาพอากาศ และอุณหภูมิมีผลต่อการเติบโต และขยายพันธุ์ โดยพบว่าระยะไข่จนถึงตัวเต็มวัย ช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการขยายพันธุ์ คือ 10 – 30 องศาเซลเซียส สามารถเพิ่มจำนวนรุ่นผีเสื้อได้ตั้งแต่ 2 – 10 รุ่น

• ไข่
ไข่มีขนาดเล็ก สีขาวออกเหลืองอ่อน มีลักษณะค่อนข้างกลมรี ผิวเรียบ ขนาด 3.5 ? 4.5 มม. ในระยะก่อนใกล้ฟักตัวจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ระยะฟักตัวประมาณ 2-3 วัน หากอุณหภูมิ 25 – 26 องศาเซลเซียส พบว่า อัตราการฟักออกจากไข่ได้มากกว่า 94% ในช่วงเวลา 3 – 6 วัน สำหรับผีเสื้อเพศเมีย 1 ตัว สามารถวางไข่ได้ประมาณ 20-360 ฟอง ขึ้นอยู่กับช่วงแสง อุณหภูมิ อาหาร อายุ และสายพันธุ์

• ระยะหนอน

เมื่อใกล้ระยะฟักตัวเปลือกผิวไข่จะเปลี่ยนเป็นสีดำ ตัวหนอนจะใช้ฟันแทะเปลือกไข่เป็นวงกลมพอหลวมตัวออกมา สำหรับระยะหนอน แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ประกอบด้วยตัวอ่อนระยะที่ 1 และ 2 มีลักษณะลำตัวขนาดเล็ก ผิวสีซีด ส่วนหัวสีน้ำตาลอ่อน และระยะที่ 3 และ 4 จะมีสาร cuticle ปกคลุมลำตัวหนามากขึ้นทำให้ลำตัวมีความแข็งแรงขึ้น ทั้ง 4 ระยะ จะใช้เวลาประมาณ 10-30 ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ อาหาร ความชื้น และอุณหภูมิ

เมื่อโตเต็มที่จะมีลำตัวสีเขียว และหัวสีน้ำตาล ลำตัวจะยาวขึ้นประมาณ 1 เซนติเมตร มีลักษณะส่วนหัวและส่วนท้ายแหลม ส่วนท้ายบริเวณด้านบนจะมีปุ่มยื่นเป็น 2 แฉก สีลำตัวสามารถเปลี่ยนสีไปตามสภาพความชื้น และอาหารเป็นสีเขียวอ่อน หรือ เขียวปนเหลืองได้ หลังจากหนอนเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะเริ่มเข้าสู่การชักใยเพื่อปกคลุมตัวสำหรับเข้าสู่ระยะดักแด้ต่อไป โดยใช้ระยะเวลาการชักใยประมาณ 1 – 2 วัน

• ระยะดักแด้
ระยะดักแด้ในช่วงแรก ตัวดักแด้จะสร้างใยบางๆ หุ้มตัวเองหลายชั้นเกาะติดบริเวณใต้ใบพืช เมื่อเวลาผ่านไปสีของเส้นใยจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลจนถึงดำ ระยะดักแด้จะใช้เวลาประมาณ 4 – 15 วัน ขึ้นอยู่กับฤดู และอุณหภูมิ สำหรับฤดูร้อน และฤดูฝนจะมีระยะดักแด้ประมาณ 4-5 วัน ส่วนฤดูหนาวจะใช้เวลาประมาณ 5 – 6 วัน สำหรับประเทศไทยระยะดักแด้ใช้เวลาเพียง 3 – 5 วัน ขึ้นอยู่กับฤดู และอุณหภูมิ

• ระยะผีเสื้อ
เมื่อดักแด้โตเต็มที่จนพัฒนาลำตัวมีปีก ผีเสื้อจะเจาะรังไหมออกมา โดยลักษณะตัวผู้ และตัวเมียจะมีขนาดเท่ากัน ปีกมีลักษณะสีเทา ส่วนเพศผู้จะมีจุดสว่างบนปีกคู่แรก ในประเทศอินเดียอายุของผีเสื้อจะอยู่ได้ประมาณ 13-20 วัน แต่บางสายพันธุ์ และบางพื้นที่อาจมีชีวิตอยู่ได้มากถึง 58 วัน โดยเฉพาะผีเสื้อเพศเมียที่มีอายุมากกว่าเพศผู้

ชีวิตในช่วงผีเสื้อตัวเต็มวัยจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในตอนกลางคืนสำหรับออกหากินอาหารซึ่งเริ่มตั้งแต่ออกจากรังไหมจนถึงวัยผสมพันธุ์ สำหรับการผสมพันธุ์จะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง และเพศเมียจะเริ่มวางไข่หลังผสมพันธุ์เรียบร้อยแล้ว

การแพร่ระบาด และฤดูการแพร่ระบาด

รายงานของกองกีฏ และสัตววิทยา พบว่า หนอนใยผักพบมากตามแปลงปลูกพืชตระกูลกะหล่ำ อาทิ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก คะน้า เป็นต้น โดยในประเทศไทยพบมีการระบาดอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีในเกือบทุกพื้นที่ และมักพบการแพร่ระบาดในช่วงเดือนมกราคม – เมษายน ของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงที่มีอุณหภูมิเหมาะสมต่อการขยายพันธุ์

พืชอาหารหนอนใยผัก

อาหารหลักของหนอนใยผักเป็นพืชตระกลูผักที่สำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะพืชตระกูลกะหล่ำ ได้แก่ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กวางตุ้ง ผักกาดเขียว คะน้า ผักกาดขาว ผักกาดหัว เป็นต้น เนื่องจากพืชตระกูลนี้มีสาร mustard oil และ glucosides ที่หนอนใยผักต้องการสำหรับการเจริญเติบโต

การป้องกัน และกำจัด

การป้องกัน และกำจัดหนอนใยผัก สามารถทำได้หลายวิธี แต่หนอนใยผักมีช่วงชีวิตสั้น และมียีนที่สามารถพัฒนาความต้านทานต่อสารกำจัดแมลงได้ ดังนั้น การป้องกัน และกำจัดจึงควรใช้วิธีหลากหลายร่วมกัน
1. การควบคุมโดยวิธีธรรมชาติ
แตนเบียนชนิดต่างๆในประเทศไทยสามารถใช้เป็นแมลงกำจัดศัตรูพืชได้ โดยเฉพาะศัตรูพืชที่อยู่ในระยะหนอนกัดกินใบ แตนแบนที่เป็นศัตรูธรรมชาติของหนอนใยผัก ได้แก่ แตนเบียนหนอน และแตนเบียนดักแด้ ทั้งสองชนิดจะจับกินหนอนใยผักในระยะหนอน และระยะดักแด้เป็นอาหาร

การกำจัดโดยใช้ราก็เป็นวิธีหนึ่งที่นิยมในปัจจุบัน เชื้อราที่นิยมได้แก่ เชื้อราบิวเวอร์เรีย เป็นเชื้อราที่สามารถทำลายหนอนใยผักได้ทุกระยะ รวมถึงในระยะผีเสื้อด้วย ปัจจุบันมีการผลิต และจำหน่ายตามท้องตลาดในกลุ่มเกษตร นอกจากนั้น อาจใช้วิธีการกำจัดด้วยเชื้อแบคทีเรีย ที่ปัจจุบันมีการผลิตออกจำหน่ายตามท้องตลาดเช่นกัน ผลิตภัณฑ์จำพวกนี้อาจอยู่ในรูปผงหรือสารละลายของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งจะใช้โดยวิธีการฉีดพ่นในรูปของสารละลายน้ำ

การการควบคุมด้วยวิธีธรรมชาติในด้านอื่น ได้แก่การใช้สัตว์กินหนอน กินผีเสื้อต่างๆ เช่น ค้างคาว แมงมุม นกชนิดต่างๆ เป็นต้น ซึ่งวิธีนี้จะอาศัยสิ่งมีชีวิตต่างๆที่อยู่โดยรอบแปลงเกษตรเป็นตัวควบคุม แต่การที่จะใช้ประโยชน์จากสัตว์เหล่านี้ได้จำเป็นต้องมีสถานที่หรือสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการอาศัย

2. การควบคุมโดยวิธีเขตกรรม
การควบคุมโดยวิธีเขตกรรม ได้แก่

– การกำจัดพืชผักที่มีการระบาดของหนอนใยผักออกให้หมด ด้วยการฝัง การเผา การหมักน้ำ หรือการทำปุ๋ยหมัก วิธีนี้จะช่วยหยุดการระบาดของหนอนไปสู่แปลงอื่นๆได้

– การให้น้ำด้วยระบบ sprinkler แทนระบบน้ำหยดสามารถเป็นวิธีหนึ่งที่ควบคุมหนอนใยผักได้ เนื่องจากการให้น้ำเป็นฝอยหรือหยดจากด้านบนของแปลงผักสามารถทำให้ไข่หรือหนอนใยผักในระยะอ่อนร่วงลงด้านล่างหรือจมน้ำได้ อีกทั้งทำให้ไม่เอื้อต่อการวางไข่ของผีเสื้อกลางคืน

3. การควบคุมโดยใช้พันธุ์ต้านทาน
เป็นวิธีการเลือกใช้พันธุ์พืชในการปลูก สำหรับบางพันธุ์จะมีความต้านทานต่อการแพร่ระบาดของหนอนใยผัก หรือเป็นพันธุ์ที่หนอนใยผักไม่ชอบกัดกิน ลักษณะพันธุ์เหล่านี้ ได้แก่ พันธุ์ผักที่มีใบมันเงา สามารถสร้างไข (wax) เคลือบผิวใบได้มาก ทำให้หนอนตัวอ่อนไม่สามารถกัดกินใบได้

4. การใช้กับดักแมลง
การใช้กับดักแสงไฟ เป็นวิธีที่เกษตรกรนิยมวิธีหนึ่ง ซึ่งสามารถให้ประโยชน์ทั้งในด้านการกำจัดแมลงศัตรูพืช โดยเฉพาะชนิดที่เป็นผีเสื้อ และประโยชน์ในด้านเป็นกับดักแมลงที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้ เช่น แมงดานา จิ้งหรีด เป็นต้น วิธีนี้มักใช้หลอดเรืองแสงสีน้ำเงินขนาด 20หรือ40 วัตต์ เปิดไว้ในเวลากลางคืนบริเวณบ้านหรือแปลงผัก โดยด้านล่างหลอดไฟจะมีตุ่มหรือภาชนะใส่น้ำคอยรองรับแมลงที่ร่วงลงมา

การใช้กับดักกาว เป็นวิธีที่ใช้กาวเหนียวเป็นกำดัก ด้วยการทากาวบนแผ่นไม้ ท่อนไม้ ปักทิ้งไว้ตามแปลงผัก หรือ ใช้ร่วมกับกับดักแสงไฟ เมื่อแมลงบินมาจับ แมลงจะติดกับกาวแน่นไม่สามารถขยับได้

5. การควบคุมโดยสารเคมี
วิธีการใช้สารเคมีในปัจจุบันพบว่าหนอนใยผักสามารถสร้างความต้าน และทนต่อสารเคมีบางชนิดได้ ทำให้สูญเสียค่าสารเคมีโดยเปล่า กลุ่มสารเคมีในปัจจุบันที่หนอนใยสามารถต้านทานได้ ได้แก่ teflubenzuron กลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ (synthetic pyrethroid) และ กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (organophosphate) ส่วนสารที่มีประสิทธิภาพในการกำจัด เช่น abamectin อัตรา 2.88 กรัม ใช้สลับกันกับ diafenthiuron อัตรา 120 กรัม สามารถกำจัดหนอนใยผักให้ผลดี

การใช้สารระงับการลอกคราบ เช่น trifulumuron (อัลซิสตัน 25 % WP), diflubenzuron (ดิมิลิน 25 % EC), tefluron (แซค – คิลเลอร์ 15 % SC) และ chlorfluazuron (อาทาบรอน 5 % EC) โดยการฉีดพ่นในอัตรา 30 – 40 กรัม หรือ 20 – 30 กรัม หรือ ผสมสาร 5 – 10 ซีซี หรือ 15 – 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร สามารถควบคุม และกำจัดหนอนใยผักได้ดีเช่นกัน

การใช้สารล่อ หรือ sex pheromone สำหรับเป็นกับดักล่อให้ผีเสื้อหนอนใยผักเข้ามาติด โดยอาจใช้ร่วมกับกับดักกาวหรือเป็นกรงขัง สารล่อที่ใช้ ได้แก่ สารล่อ Takeda ซึ่งมีส่วนผสมของ cis – 11 – hexadecenol จำนวน 0.1 mg สามารถล่อให้ผีเสื้อบินมาเข้ากับดักได้

6. การควบคุมโดยใช้สารสกัดจากพืช (Plant extracts)
สารสกัดจากพืชที่ฤทธิ์ในการกำจัดหนอนใยผัก ได้แก่ สารสกัดหยาบจากเมล็ดน้อยหน่า เมล็ดทุเรียนเทศ และรากของหนอนตายหยาก ส่วนสารสกัดสมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการไล่หนอนใยผัก ได้แก่ หนุมานประสานกาย และตะไคร้หอม นอกจากนั้น ยังมีการศึกษาฤทธิ์ของสมุนไพรชนิดอื่น ได้แก่

***อ้างอิงบทความ www.puechkaset.com ***